วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

CHEVROLET IMPALA HIP HOP STYLE BY CAR DANCE

CHEVROLET IMPALA HIP HOP STYLE BY CAR DANCE

รถแนว HYDRAULICS สไตล์ HIP HOP มาเสนอบ้างคงจะดี อย่างน้อยจะได้เบรกความจำเจเดิม ๆ ลงบ้าง แถมความน่าสนใจก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน ซึ่งการตกแต่งแนวนี้เพื่อจุดประสงค์หลักคือ "ENTERTAIN"

ส่วนรถที่เรานำมาเสนอนั้น เป็นรถจากค่ายดังย่านพระราม 2 อย่าง "CAR DANCE" ซึ่งในกลุ่มที่เล่นรถ HYDRAULICS จะรู้ว่า ที่นี่แหละศูนย์รวมแห่งการตกแต่งสำหรับ GANGSTER โดยเฉพาะ และที่เด็ดสุดคือคุณหมู CAR DANCE ยอมเปิดกรุของป๋าเพื่อนำ IMPALA สุดหวงมาเผยโฉมให้ชมกัน
หลังจากเริ่มบทสนทนา ป๋า (คุณพ่อของคุณหมู CAR DANCE) เล่าถึงความเป็นมาของรถคันนี้ให้ฟังว่า "ในช่วงแรกไม่ได้คิดที่จะเล่นรถแนวนี้ แต่พอได้เห็นสื่อต่างประเทศ รู้สึกว่ารถประเภทนี้น่าเล่นดีเหมือนกัน อีกอย่างลูกชายชอบรถและเปิดอู่อยู่แล้ว เลยคิดว่าน่าจะทำรถส่วนตัวขึ้นมาใช้ดูสักคัน อย่างคันนี้ก็ใช้เวลาถึง 5 ปี กว่าจะออกมาสมบูรณ์แบบอย่างที่เห็น ซึ่งจุดประสงค์หลักแล้ว ทำออกมาเพื่อโชว์โดยเฉพาะ"



ในต่างประเทศ รถประเภท "LOWRIDER" มาแรงมาก เพราะรถแบบนี้จะเป็นรถที่เขาทำเก็บไว้อย่างเดียว ไม่นำออกมาใช้งาน (เหมือนกับกลุ่มที่เล่นรถ CLASSIC ในไทย) อย่าง IMPARA คันนี้ คุณป๋าตั้งใจว่า สร้างรถออกมาเพื่อเป็นสีสันบนท้องถนน

เนื่องจากในต่างประเทศนิยมเล่นรถ IMPARA กันมาก ประจวบเหมาะกับคุณป๋าได้ไปเจอรถ IMPARA ปี'70 (ต่างประเทศจะนิยมเล่นรุ่นปี'58-'62 แต่ในไทยสามารถหาได้เท่านี้) พอทำออกมา หลายคนได้เห็นแล้วรู้สึกชอบ จึงเกิดการรวมกลุ่มและหันมาทำเล่นกัน


กลุ่มที่เล่นรถแบบ HYDRAULICS ในอดีตจะมีการรวมตัวกันอยู่หลายกลุ่ม (ส่วนมากเป็นรถญี่ปุ่น) แต่ในปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น ตอนนี้ถ้านับในทวีปเอเชีย เมืองไทยถือว่าเป็นรองญี่ปุ่นเท่านั้น

อย่าง IMPALA คันที่นำเสนออยู่นี้ เริ่มจากจับบอดี้เดิม ในสภาพแบบว่า "เป็นซาก" มาชุบชีวิตใหม่ด้วยการทำสี จากนั้นนำไปเปลี่ยนเป็นเครื่องดีเซล แล้วนำมาติดตั้งชุด HYDRAULICS แบบ 4 ปั๊ม จากนั้นเป็นเรื่องของการเก็บรายละเอียดตามจุดต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ จนครบ ตามแนวทางการตกแต่งรถประเภทนี้

แต่รถ IMPALA ของป๋า ปกติจะไม่ค่อยไปเผยโฉมที่ไหน ถ้าออกเมื่อไหร่จะเป็นงานโชว์เท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายในการนำรถออกไปแต่ละครั้ง ค่อนข้างสูงพอสมควร

มีสิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจสงสัยนั่นคือ "งบประมาณในการทำ" เรื่องนี้ป๋าบอกเลยว่าหมดเยอะพอสมควร รวม ๆ แล้วน่าจะประมาณเกือบ 2 ล้านบาท เพราะค่าใช้จ่ายส่วนมากจะเป็นค่าของเท่านั้น เนื่องจากเรามีอู่ของตัวเอง ทำให้ลดงบประมาณในเรื่องค่าแรงลงไป

ป๋ายังเล่าให้ฟังว่า "คนที่ไม่เล่นรถประเภทนี้อาจไม่รู้สึกอะไร แต่ใครก็ตามที่ได้เล่นแล้ว จะรู้สึกว่าหลงใหลในเสน่ห์ของมัน จริง ๆ แล้วคนที่อยากเล่นรถรุ่นนี้ก็มีเยอะ แต่ต้องถามตัวเองก่อนว่าเงินถึงไหม? อย่างตัวผมเอง ถ้าไม่มีอู่ก็คงไม่ไหวเหมือนกัน"
ประเด็นนี้ป๋าแสดงความคิดเห็นว่า "ค่อนข้างพอใจ" เท่าที่ออกมาตอนนี้ในส่วนของตัวถังค่อนข้างสมบูรณ์แบบ ที่เหลือก็คงจะมีเพียงเครื่องยนต์เท่านั้น เนื่องจากเครื่องเดิมกินน้ำมัน ทำให้ต้องตัดใจยกออกนำมาเก็บไว้ แล้วจัดการยัดเครื่องดีเซลลงไปแทน

ตัวรีโมตสำหรับควบคุมชุด HYDRAULICS มีฟังก์ชันการทำงานเช่นเดียวกับชุดควบคุมดั้งเดิม แต่ตัวรีโมตช่วยอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้แก่ผู้เล่น เพราะผู้เล่นสามารถยืนห่างจากตัวรถได้ตามระยะที่รีโมตส่งคลื่นไปถึง ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็น OPTION เสริมที่พัฒนามาจากอดีต
ที่มา http://www.auto2thai.com/gallery.php?page=2

PurpleTiger...Pick up Low Rider

PurpleTiger...Pick up Low Rider




              เรื่องราวของ Pick up Low Rider ยังมีมาให้ชมกันอีกคัน ซึ่งเป็นหนึ่งในรถที่มาร่วมงานมอเตอร์โชว์เช่นกัน คันนี้มาในโฉมของ Toyota Tiger ที่เน้นรูปลักษณ์ภายนอกดูโดดเด่นด้วยสีม่วง และองค์ประกอบบต่าง ๆรอบคันตามแบบ Low Rider Styl



ในช่วงแรกที่ได้รถมา ทางคุณอาร์ม (เจ้าของรถ) เล่าให้ฟังว่า ใช้งานแบบธรรมดาทั่วไป ไม่คิดจะนำมาแต่ง แต่ด้วยความเคยชินที่ต้องคลุกคลีอยู่กับกลุ่ม Low Rider เพราะพี่ชายของเขาเล่นรถประเภทนี้อยู่ ทำให้เกิดซึมซับจนเริ่มรู้สึกว่ามันดี และสนใจที่จะทำบ้าง สุดท้ายเลยไม่พ้นหันหน้าเข้าหากัน และปรึกษาตามประสาพี่ ๆ น้อง ๆ ในที่สุดพี่ชายของเขาจึงพาไปพบกับผู้ชำนาญเรื่องรถ Low Rider อย่างคุณหมู Car Dance บทสรุปสุดท้ายจึงออกมาแบบที่เห็น

           ตอนเริ่มต้น Project ดังกล่าว คุณอาร์มนำไปใส่ปั๊มเล่นแบบธรรมดา พร้อมดูว่ามีปัญหาตรงไหนรึเปล่า จนมั่นใจว่าใช้งานได้ตามปกติและไม่มีปัญหาแน่นอน ถึงเริ่มต้นสเต็ปต่อไป ด้วยการนำมาแต่งให้ดูสวยงาม ซึ่งในตอนนี้เล่นกับ Hydraulics แบบ 2 ปั๊ม ของ Pro Hopper ส่วน Ac. มีเฉพาะคู่หน้า ส่วนด้านหลังไม่ได้ใช้ Ac. เพราะ เน้นการเล่นกระโดดแบบ Hop…


สำหรับการตกแต่งรถคันนี้ ช่วงแรกคุณอาร์มคิดว่าพอใจกับระบบ Hydraulics ชุดดังกล่าวแล้ว แต่พอได้เห็นรถคันอื่นที่มาร่วมแสดงในงานมอเตอร์โชว์ รู้สึกว่าอยากทำเพิ่มให้ปั๊มแรงกว่านี้ จะได้กระโดดสูงกว่าเดิม เพราะตอนนี้รู้สึกว่ารถของตัวเองยังดูธรรมดาอยู่เลย ทั้งหมดนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสไตล์ของชาว Low Rider ที่ทีมงานนำมาให้สัมผัสกัน แล้วพบกันใหม่กับรถสไตล์แบบนี้ในเล่มหน้าครับ Bye…

 ที่มา  http://www.auto2thai.com/

COLORADO SUPER CAR by PTT

COLORADO SUPER CAR by PTT


เครื่องยนต์ 4JK1-TC 2,500 ซี.ซี.


          จากเครื่องยนต์ 4JK1 สแตนดาร์ด 116 แรงม้า กับแรงบิด 29 กิโลกรัม-เมตร กับระบบเทอร์โบแปรผัน VGS เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้งานธรรมดาถือว่า COLORADO มีระดับความแรงที่ไม่ขี้เหร่ แต่ถ้าเทียบกับการนำ COLORADO มาใช้งานในรูปแบบของการแข่งขันในรายการใหญ่ ๆ แบบ SUPER CAR THAILAND นี้ เครื่องยนต์ระดับ 116 แรงม้า


           เครื่องยนต์ 4JK1 ตัวนี้ นอกจากจะทำการโมดิฟายระบบอัดอากาศแล้ว ยังได้มีการโมฯ ให้ระบบเชื้อเพลิงจ่ายเชื้อเพลิงได้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยการส่งกล่อง ECU เดิมของ 4JK1 ไปให้กับทาง PEAK POWER ทำการโมฯ Rom ให้ใหม่ ทำให้ในระบบเชื้อเพลิงมีการจ่ายเชื้อเพลิงผ่านหัวฉีดออกไปในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับการสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหลังจากการโมฯ Rom มาแล้วนั้น ก็จ่ายในปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาณอากาศที่เข้าสู่ห้องเผาไหม้ ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป

         สำหรับเครื่องยนต์ในรถกระบะที่เป็นระบบคอมมอนเรลของยุคปัจจุบันนี้เป็นระบบที่ใช้ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบไฟฟ้า ควบคุมการจ่ายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่แตกต่างกับปั๊มแบบกลไกตรงที่ไม่สามารถโมดิฟายปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงให้จ่ายน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วยวิธีการเปลี่ยนอุปกรณ์ในตัวปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงได้ หากต้องการจะให้มีการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าห้องเผาไหม้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นได้ ก็ต้องทำการแก้ไขโปรแกรมในตัวกล่อง ECU ให้สั่งจ่ายเชื้อเพลิงในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยการสั่งให้หัวฉีดยกนานขึ้น (แบบนี้เรียกว่าการโมฯ Rom) หรือไม่อีกวิธีก็คือ ใช้วิธีดึงสัญญาณของกล่องเดิมออกไปขยายความถี่ของสัญญาณเพื่อยืดระยะเวลาการยกของหัวแดให้มีระยะเวลาการยกที่นานขึ้น สำหรับการดึงสัญญาณในกรณีที่ 2 นี้ ก็จะดึงกันที่ปลั๊กหัวฉีดเดิมออกไปขยาย แล้วจึงส่งกลับเข้ามาที่หัวฉีด เพื่อสั่งให้หัวฉีดยก ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ก็มีจุดดีที่แตกต่างกัน แล้วแต่ว่าใครจะเลือกใช้แบบไหน แต่โดยรวม ๆ แล้ว ผลสัมฤทธิ์ที่ได้ออกมานั้นก็เป็นในทิศทางเดียวกัน
ระบบส่งกำลังเกียร์เดิม คลัตช์ ISUZU TROOPER
             CHEVROLET COLORADO คันนี้ ระบบส่งกำลังยังคงใช้โครงสร้างเดิม คือใช้เกียร์เดิม อัตราทดเดิม แต่ทำการปรับปรุงชิ้นส่วนในระบบให้ส่งกำลังได้ดีขึ้น ด้วยการเปลี่ยนชุดคลัตช์ไปใช้ของ ISUZU TROOPER จากนั้นก็ทำการเปลี่ยนชุดเฟืองท้ายพร้อมกับชุดลิมิเต็ดสลิปไปใช้ของ NISSAN TURANO อัตราทด 3.7:1 ที่มีความเหมาะสมกับการแข่งขันที่มีทั้งทางตรง และทางโค้งในรูปแบบของเซอร์กิต สามารถส่งถ่ายกำลังงานลงสู่พื้นแทร็กได้ดีและต่อเนื่อง
ระบบรองรับน้ำหนักดัดแหนบ โช้ก OBITS

              "ช่วงล่าง" สำหรับรถแข่งทางเรียบในรูปแบบของเซอร์กิตนั้น เรื่องความนุ่มนวลนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ต้องพูดถึง รถประเภทนี้ไม่ต้องการ สิ่งที่ต้องการคือการยึดเกาะที่ดีที่สุด การตอบสนองก็ต้องดีในทุกช่วงเวลาของการแข่งขัน สำหรับในรถคันนี้ ทางอู่หนุ่มได้ทำการปรับปรุงช่วงล่างใหม่ยกชุด ทำการปรับปรุงด้วยการดัดแหนบให้มีการยึดเกาะที่ดีขึ้นและทำให้ตัวรถต่ำลง เมื่อตัวรถต่ำลง จุด CG ก็จะถูกย้ายให้ต่ำลงไปด้วย สำหรับการดัดแหนบนี้ นอกจากจะได้เรื่องตัวรถและจุด CG ที่ต่ำลงแล้ว แหนบที่ถูกดัดก็จะมีความแข็งมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้แรงกดระหว่างล้อกับพื้นผิวมีมากขึ้น รวม ๆ แล้ว ทั้งหมดทำให้การยึดเกาะดีขึ้น และนอกจากดัดแหนบให้มีความแข็งมากขึ้นแล้ว รถคันนี้ยังได้มีการเปลี่ยนโช้คไปใช้โช้คที่มีแรงกดเพิ่มมากขึ้นและมีการตอบสนองที่ดีทั้งจังหวะ Bump และ Rebound ซึ่งโช้คที่ใช้นั้นเป็นโช้คของ OBITS ทั้งในล้อหน้าและล้อหลัง สำหรับล้อที่ใช้ในการแข่งขันใช้ล้อ 4x4 Engineering พร้อมกับยาง BFGoodrich g-Force Sport ในระบบเบรกหน้า-หลังก็ยกเอาของ ISUZU TROOPER ที่เป็นแบบดิสก์เบรกมาใช้ทั้งชุด

บอดี้

บอดี้ของรถคันนี้อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ตอนแรกแล้วว่า เป็นรถที่ใช้แข่งขันในรายการ SUPER CAR THAILAND บอดี้รถทั้งหมดจึงถูกลอกคราบเพื่อทำการลดน้ำหนัก ภายในห้องโดยสารรื้ออุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นออกจนหมดเกลี้ยง ทั้งแผงประตูและพรมพื้น แต่คอนโซลยังไม่มีการรื้อและดัดแปลง ยังอยู่ครบ แอร์ยังเย็นฉ่ำ ยังมีชุดวิทยุอยู่เหมือนเดิม สำหรับในห้องโดยสารนอกจากจะรื้อของที่ไม่จำเป็นออกแล้ว ในห้องโดยสารก็ได้เสริมอุปกรณ์ในเรื่องความปลอดภัยเข้าไปตามกติกาของการแข่งขัน นั่นก็คือชุดโรลบาร์และถังดับเพลิง, ชุดสวิตช์ตัดไฟ เบาะที่ใช้เป็นเบาะที่ให้ความกระชับสูงของ OMP พร้อมกับเบลท์แบบ 5 จุดของ WILLANS พวงมาลัยก็เปลี่ยนเป็นแบบก้านยกของ OMP ช่วยให้การควบคุมรถทำได้ง่ายขึ้น สำหรับชุดเกจ์วัดของรถคันนี้ นอกจากจะใช้เกจ์วัดในคอนโซลเดิมของ COLORADO แล้ว ยังได้เพิ่มเกจ์วัดเข้าไปอีก 2 ตัว คือ เกจ์วัดบูสต์ และเกจ์วัดอุณหภูมิน้ำของ AUTO METER ที่ให้ความเที่ยงตรงสูง


ในส่วนของบอดี้นี้ เมื่อจบจากห้องโดยสารก็ออกมาด้านนอก สำหรับบอดี้ด้านนอกของรถคันนี้ก็เน้นตามหลักของอากาศพลศาสตร์ ลดแรงต้านทานในการเคลื่อนที่ให้เหลือน้อยที่สุด แต่ก็ต้องยังมีความปลอดภัยสูงสุดอยู่ เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ ทางอู่หนุ่มจึงได้ติดตั้งแผ่นปิดกระบะท้ายช่วยลดแรงต้านทานการเคลื่อนที่จากลมให้มีน้อยลง จากนั้นก็ทำการใส่หางหลังสร้างแรง Down Force ในขณะรถเคลื่อนที่ ทำให้มีแรงกดท้ายเกิดขึ้น ส่งผลให้ท้ายรถไม่ย้วยไปย้วยมา เวลาวิ่งด้วยระดับความเร็วสูง นอกจากจะได้เรื่องของความปลอดภัยแล้ว ก็ยังได้เรื่องของความสวยงามเสริมขึ้นมาด้วย

กระบะ

........กระบะ.........




modify car

....modify car....










วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

BMW, 318, 316

BMW, 318, 316





รถเก่าเก็บ

รถเก่าเก็บ

เก็บรถเก่าไว้ดูเล่น






NISSAN CEFIRO

NISSAN CEFIRO